แชร์ 7 เคล็ด(ไม่)ลับ เริ่มต้นเขียน Statement of Purpose (SOP) สมัครเรียนต่อต่างประเทศ

  • Share this:

สำหรับใครที่กำลังวางแผนไปเรียนต่อต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรียนต่อสหราชอาณาจักร เรียนต่อสหรัฐอเมริกา เรียนต่อออสเตรเลีย หรือประเทศอื่น ๆ หนึ่งในเอกสารสำคัญที่ใช้ในการสมัครเรียนในระดับปริญญาก็คือ Statement of Purpose หรือ SoP นั่นเอง โดยเอกสารชิ้นนี้มีขึ้นเพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยรู้จักผู้สมัครมากขึ้น ทั้งด้านประวัติส่วนตัว เป้าหมายการเรียนและการทำงานในอนาคต รวมไปถึงเหตุผลที่ผู้สมัครเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ นอกจากนั้นแล้ว การเขียน Statement of Purpose ยังมีโครงสร้างการเขียนที่แตกต่างจากเรียงความอื่น ๆ  หากเขียนให้เนื้อหามีความโดดเด่นและน่าสนใจก็จะทำให้โอกาสการได้รับ Offer จากมหาวิทยาลัยนั้นเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น การเขียน Statement of Purpose เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมากในการเรียนต่อต่างประเทศ ในบทความนี้ Hands On จะมาแบ่งปัน 7 เคล็ดลับในการเริ่มต้นเขียน Statement of Purpose ฉบับมือใหม่ก็เขียนได้ ไปอ่านกันเลย!

 

Statement of Purpose คืออะไร

Statement of Purpose หรือ SoP คือ เรียงความแนะนำตัวที่ผู้สมัครต้องเขียนเพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยพิจารณาการรับเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาในต่างประเทศ โดยปกติแล้วจะมีความยาวระหว่าง 500 – 1,000 คำ ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยกำหนด และเนื้อหาจะต้องกล่าวถึง ประวัติส่วนตัว เช่น การเรียนและการทำงาน แรงบันดาลใจและเป้าหมายในการเลือกเรียนสาขานั้น ๆ รวมไปถึงอธิบายว่าทำไมถึงอยากเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยนี้ ดังนั้น Statement of Purpose จะมีส่วนช่วยให้ทางมหาวิทยาลัยรู้จักตัวตนของเรามากขึ้นและประเมินว่าเราเหมาะสมกับสาขาวิชาที่เราต้องการเรียนต่อหรือไม่ พี่ Hands On ขอแนะนำว่าน้อง ๆ ที่จะสมัครเรียนต่อควรจะเตรียมตัวเขียน Statement of Purpose ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเอกสารชิ้นนี้มีความสำคัญมากไม่แพ้คะแนนภาษาอังกฤษ หรือ GPA เลย

 

เคล็ดลับที่ 1: โครงสร้างเรียงความชัดเจน (Well-structure)

โดยทั่วไปแล้ว เรียงความ SoP นั้นควรมีประมาณ 4-5 paragraphs เรียงจาก Introduction, Body และ Conclusion โดยแต่ละ paragraph นั้นควรแบ่งเนื้อหาให้ชัดเจนว่ากำลังเล่าหรืออธิบายเรื่องอะไร อย่างเช่น paragraph แรกควรเริ่มต้นด้วยการแนะนำประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาเรียนจบอะไรมา ตอนนี้กำลังทำอะไร และ ทำไมถึงกำลังมองหาโอกาสเรียนต่อในสาขาวิชานั้น ๆ ส่วน paragraph ที่ 2 และ 3 จึงค่อย ๆ เขียนอธิบายเจาะลึกถึงแรงบันดาลใจและเป้าหมายในการเรียนครั้งนี้และหากได้มีโอกาสเข้าเรียนต่อแล้วจะนำไปพัฒนาต่อยอดอย่างไร สำหรับ paragraph สุดท้ายก็ควรเขียนสรุปใจความทั้งหมดอีกครั้ง การเขียน SoP ในลักษณะนี้จะทำให้คณะกรรมการของมหาวิทยาลัยนั้นอ่านง่าย เข้าใจเนื้อหาได้ทันทีตามหลัก Logical Flow และแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครมีทักษะการเขียนที่ดีอีกด้วย

 

เคล็ดลับที่ 2: เนื้อหาและภาษามีความตรงไปตรงมา

สำหรับภาษาที่ใช้ในการเขียน SoP นั้น แน่นอนว่าต้องเป็น Formal English และไม่ควรใช้ภาษาสแลง หรือ การย่อรูปประโยค อย่างเช่น I’m interested in pursuing a Master’s degree in Business Administration แบบนี้ ไม่ควรใช้อย่างยิ่ง นอกจากนั้น เนื้อหาก็ควรมีความชัดเจนและตรงไปตรงมา ไม่เขียนข้อความหรือเนื้อหาวกไปวนมา และที่สิ่งสำคัญไม่ควรใช้คำศัพท์เฉพาะทาง (Technical Jargons) เยอะมากจนเกินไป ภาษาและเนื้อหาควรเรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที

 

เคล็ดลับที่ 3: การเขียนภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

ความถูกต้องทางภาษาอาจจะดูเหมือนเรื่องง่าย ๆ และไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไหร่ แต่ความจริงแล้วสำหรับการเขียน SoP นั้นสำคัญมากและเป็นเรื่องที่ผู้สมัครหลายคนมองข้าม การเขียนเนื้อหาให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ รวมถึงการเว้นวรรคประโยคและสะกดคำศัพท์ให้ถูกต้องนั้นสามารถสร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยได้อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยให้คณะกรรมการเข้าใจเนื้อหาที่เราจะสื่อได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น พี่ Hands On แนะนำว่าควรเผื่อเวลาสำหรับการตรวจเช็กความถูกต้อง (Proofread) ของเนื้อหาด้วย หรือ ถ้าน้อง ๆ ที่ยื่นสมัครกับ Hands On Education Consultants ก็จะมีพี่ ๆ ทีมเจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบความเรียบร้อยให้อีกครั้ง

 

เคล็ดลับที่ 4: อธิบายเป้าหมายการเรียนและการทำงานในอนาคต

นอกจาก Motivations ในการเรียนต่อแล้ว สิ่งที่ควรเขียนใส่ลงไปใน SoP คือเป้าหมายการเรียนและการทำงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Short-term หรือ Long-term goals ผู้สมัครควรอธิบายว่าทำไมการเรียนต่อสาขาวิชานี้ถึงสำคัญต่อตัวผู้สมัคร และ ผู้สมัครจะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดอย่างไรในอนาคต อย่างเช่น หากสมัครเรียนสาย Business อาจจะเขียนเกี่ยวกับเป้าหมายการเปิดธุรกิจส่วนตัว จึงต้องการเรียนรู้กลยุทธ์ในการทำธุรกิจทั้งในระดับ Domestic และ International หรือ หากเรียนสายสังคม อาจจะเขียนถึงเป้าหมายในการพัฒนาสังคม หรือ แก้ไขปัญหาสังคมก็ได้เช่นกัน สิ่งนี้จะช่วยให้เนื้อหา SoP ของเรามีน้ำหนักมากขึ้นและแสดงถึง Passion ในการเรียนต่อได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

เคล็ดลับที่ 5: เลือกใส่เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคอร์สที่สมัครเรียน

แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากจะใส่ผลงานความสำเร็จ หรือ ประสบการณ์การทำงานต่าง ๆ ของตัวเองลงไปในเรียงความ SoP แต่เดี๋ยวก่อน! อย่าลืมว่าการเขียน SoP นั้น ความยาวจำกัดมีจำกัดและเนื้อหาต้องกระชับและตรงไปตรงมา ถ้าจะใส่ผลงานที่ผ่านมาทั้งหมดคงจะไม่พอแน่ ๆ อีกทั้งอาจจะทำให้เนื้อหาไม่เชื่อมโยงกันและสร้างความสับสนให้กับคณะกรรมการได้ ดังนั้น พี่ Hands On แนะนำว่าให้เลือกใส่เฉพาะผลงานหรือประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เราสมัครเรียน เช่น Internship, Voluntary work, Academic journals หรือ ใส่งานอดิเรกที่เกี่ยวข้องก็ได้เช่นกัน นอกจากนั้น ต้องเขียนอธิบายด้วยว่าสิ่งที่ใส่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่จะสมัครเรียนอย่างไร

 

เคล็ดลับที่ 6: อ่านและทำตาม Instructions ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

ก่อนลงมือเขียน SoP อย่าลืมอ่านคำสั่งและคำแนะนำ (Instructions) ของทางมหาวิทยาลัยให้เข้าใจ เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยมีกฎเกณฑ์ในการเขียน SoP ที่แตกต่างกัน เช่น ขนาดตัวอักษร ฟอนต์ หรือ ความยาวและจำนวนคำใน SoP หากมหาวิทยาลัยกำหนดจำนวน Word limit มาแล้ว ไม่ควรเขียนเกินกว่าที่กำหนด พี่ Hands On ขอยกตัวอย่างหนึ่งในคำแนะนำจาก The University of Warwick ที่แนะนำให้ผู้สมัครเขียนเรียงความให้มีความยาวใกล้เคียงแค่ 500 คำ แม้ว่า Word limit จะอยู่ที่ 1,000 คำก็ตาม หรือบางมหาวิทยาลัยอาจจะมีแบบฟอร์มมาให้เขียนโดยเฉพาะ หรือ ให้ผู้สมัครเขียนและส่งผ่าน Application Portal ดังนั้นอย่าลืมเช็กข้อมูลจากทางเว็บไซต์มหาวิทยาลัย หรือ สอบถามพี่ Hands On ก็ได้เช่นกัน

 

เคล็ดลับที่ 7: ห้ามลอกเนื้อหา SoP บนอินเทอร์เน็ตโดยเด็ดขาด

สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียน SoP คือ ความเป็น Originality ของเนื้อหาและต้องถูกเขียนขึ้นเองโดยผู้สมัคร การลอกเลียนแบบเนื้อหา (Plagiarism) เป็นความผิดร้ายแรงในสายวิชาการและในฝั่ง Higher Education ซึ่งคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยมีการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ Plagiarism ที่เรียกกันว่า Plagiarism-checking tool และถ้าหากพบว่าเนื้อหาใน SoP นั้นได้ลอกเลียนมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ จริง ใบสมัครจะถูกปฏิเสธและไม่ผ่านการพิจารณาในทันที ดังนั้น พี่ Hands On แนะนำว่าน้อง ๆ ควรตั้งใจเขียน SoP ด้วยตัวเองก่อน หากติดขัดตรงไหนสามารถปรึกษาพี่ Hands On หรือ ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ได้ ห้ามลอกเลียนแบบเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตโดดเด็ดขาด!

 

และนี่ก็คือ 7 เคล็ดลับในการเริ่มต้นเขียน Statement of Purpose เพื่อสมัครเรียนต่อต่างประเทศ แต่ต้องขอบอกก่อนเลยว่า 7 ข้อนี้เป็นเพียงแค่เทคนิคพื้นฐานเท่านั้น สำหรับการเขียน Statement of Purpose ให้ดูโดดเด่นและมีเอกลักษณ์มักจะมีเทคนิคอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา หากน้อง ๆ คนไหนที่ต้องเริ่มเขียน SoP แล้ว หรือ อยู่ในขั้นตอนการปรับแก้ไขเนื้อหา สามารถเข้าร่วม กิจกรรมออนไลน์ สัมมนาแนะนำแนวทางการเขียน SOP โดย พี่ Hands On ได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยกิจกรรมนี้ พี่ ๆ ได้เชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลโดยตรง สามารถเช็กตารางกิจกรรมได้ที่หน้า Hands On Events หรือ ใครที่ยื่นเอกสารสมัครเรียนกับพี่ Hands On ก็สามารถให้พี่ ๆ ทีม Counsellor ดูแลทุกขั้นตอนการเรียนต่อ รวมถึงบริการตรวจเช็กความถูกต้องของ SoP ก็ได้เช่นกัน

 

สนใจเรียนต่อต่างประเทศ สอบถามรายละเอียดการสมัครเรียนและข้อมูลมหาวิทยาลัย ติดต่อ Hands On Education Consultants ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงกรอกฟอร์มด้านล่าง

Enquiry Form

Please provide the following information and we will aim to respond within 48 hours:

Your details
Please enter your first name.
Please enter your last name.
Please enter a valid email address.
Please enter your phone number.
Please select a country you want to study.
Please select a year you want to study.
Please select your preferred branch.

* All fields required (in English)

  • Share this: