ถ้าใครอยากเรียนต่อสหรัฐอเมริกา หรือกำลังพิจารณาอเมริกาเป็นทางเลือกอยู่ มา Fact Check 8 เรื่องนี้กันเถอะ เอาให้ชัวร์กันไปเลยว่าประเทศนี้ใช่ที่ที่เราต้องการไปเรียนต่อจริง ๆ ไปดูกันเลย
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศในฝันสำหรับคนที่ต้องการใช้ชีวิตแบบเรียล ๆ เปิดประสบการณ์ในทุกแง่มุม ได้เรียนอย่างเต็มที่ ได้ทำการบ้านหลากหลายโปรเจกต์ ได้โอกาสทำความรู้จักกับคนเก่ง ๆ จากทั่วโลก ทั้งเพื่อนนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และคนในแวดวงการทำงาน เป็นการเข้าร่วมสังคมการเรียนรู้ระดับนานาชาติที่กว้างยิ่งกว่าเดิม แถมเรายังจะได้สัมผัสอิสรภาพทางความคิดและการแสดงออกอย่างที่เราไม่คาดคิดมาก่อนด้วย ก็เราได้ไปเรียนที่ประเทศแห่ง ‘Freedom of Speech’ นี่นา 
แต่ทีนี้ หากเรายังไม่มั่นใจว่าเราจะปักหมุดเรียนต่อไว้ที่อเมริกาดีมั้ยนะ มาเช็กทั้ง 8 ข้อนี้สิ

Spoiler title
มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาแต่ละแห่งล้วนมีสตอรี่ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประวัติความเป็นมาของสถาบัน หลักการที่มหาวิทยาลัยยึดถือ และ Goal ที่มหาวิทยาลัยปักหมุดไว้ว่าจะทำให้ได้ในปีนี้ ทุกอย่างล้วนหล่อหลอมรวมกันเป็นบรรยากาศมหาวิทยาลัย ส่งผลโดยตรงกับความคึกคักและกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย แต่นอกจากเรื่องบรรยากาศแล้ว สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างจริงจังคือ
- เนื้อหาหลักสูตรของคอร์สที่เราอยากเรียน ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่
- เกณฑ์การรับสมัครเรียนของมหาวิทยาลัย ว่าต้องใช้เอกสารอะไรสมัครบ้าง
- ค่าเรียนในทั้งหมด และทุนส่วนลดของมหาวิทยาลัย
- เมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และย่านพักอาศัยที่เราจะต้องไปอยู่
Spoiler title
ต่อยอดจากข้อแรก เอกสารสมัครเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาจะมีดีเทลที่ซับซ้อนเล็กน้อย เพราะเค้าจะมีเอกสารที่ต้องยื่นสมัครหลายรายการตามเกณฑ์ที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด และมีข้อกำหนดส่งเอกสารแต่ละรายการต่างกันไปหากผู้เรียนต้องการสมัครเข้าปริญญาตรีหรือปริญญาโท
เอกสารรับสมัครปริญญาตรี |
เอกสารรับสมัครปริญญาโท |
- GPA + SAT/ACT (ผลการเรียนเฉลี่ย)
- TOEFL/IELTS (ผลสอบภาษาอังกฤษ)
|
- GPA/GED/IGCSE/A-LEVELS (ผลการเรียนเฉลี่ย)
- TOEFL/IELTS (ผลสอบภาษาอังกฤษ)
- GMAT/GRE (ผลสอบวิชาเฉพาะทาง)
|
Spoiler title
มีน้อง ๆ หลายคนถามว่า สมัครเรียนต่ออเมริกาใช้เวลาสมัครเรียนนานแค่ไหน? พี่ Hands On ก็ได้แต่ตอบว่า ยิ่งสมัครเรียนเร็วเท่าไรยิ่งดีค่ะ ถ้าน้อง ๆ มีเอกสารพร้อม การยื่นเอกสารก่อนจะทำให้เราได้เปรียบกว่า เพราะหลายมหาวิทยาลัยเค้าจัดสรรโควตารับเข้าเรียน โดยใช้หลัก First come, first serve basis
Intake หรือรอบเปิดรับสมัครเรียนของอเมริกา มี 3 รอบด้วยกัน
รอบ Intake |
ช่วงที่เปิดสมัครเรียน |
ช่วงเปิดเทอม |
Fall |
กันยายน – ธันวาคม 2024 |
เริ่มเรียนสิงหาคม – กันยายน ปี 2025 |
Spring |
กันยายน – พฤศจิกายน 2025 |
เริ่มเรียนมกราคม ปี 2026 |
Summer |
พฤศจิกายน 2025 – มกราคม 2026 |
เริ่มเรียนพฤษภาคม ปี 2026 |
Spoiler title
การเลือกเมืองที่เราจะไปใช้ชีวิตเรียนต่อจาก 50 รัฐ และ 5,000 กว่ามหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่เรื่องง่าย! แต่บางคนก็อาจจะมีคนรู้จักอยู่ที่เมืองนั้น หรือได้ข่าวสารจากเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่เคยไปมา หรือเล็งเป้าไว้ว่าอยากไปเมืองนี้เลย เพราะเชื่อว่าเมืองนี้แหละตรงกับไลฟ์สไตล์ของเราแน่นอน เลยตัดสินใจเลือกเมืองนั้น ๆ แต่ถ้าให้พี่ Hands On แนะนำจริง ๆ เราควรคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ให้ดีก่อนตัดสินใจ
- เมืองที่ตั้งมหาวิทยาลัย และย่านที่พักอาศัยของนักศึกษา รวมไปถึงการเดินทางไป-กลับ
- แหล่งช้อปปิ้ง ร้านอาหาร โซนคนเอเชียอย่าง (China Town) เพื่อความสะดวกในการหาอาหารที่ถูกปาก
- ค่าครองชีพของแต่ละเมือง มีค่าใช้จ่ายยังไงบ้าง จะได้เปรียบเทียบตามงบของเราได้
- ความปลอดภัย รวมถึงอัตราการเกิดอุบัติเหตุในเมือง และระบบรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย
- เช็กฤดูและสภาพอากาศ เพราะบางเมืองอาจมีภูมิอากาศที่เราไม่คุ้นเคย เช่น อากาศหนาว-แห้ง (ผิวแตกง่ายมาก)
Spoiler title
ที่พี่ต้องยกเรื่องวีซ่านักเรียนมาบอกกันตรงนี้ ก็เพราะว่า การสมัครเรียนต่ออเมริกาอาจจะว่ายากแล้ว แต่การขอวีซ่านักเรียนอเมริกายากยิ่งกว่า! หากเราไม่เตรียมตัวล่วงหน้าให้ดี เราอาจจะพลาดโอกาสขอวีซ่าให้ทันได้ เพราะฉะนั้นพอเรายื่นสมัครเรียนแล้ว ระหว่างรอ Offer ของมหาวิทยาลัย เราควรเตรียมเอกสารขอวีซ่า F-1 ต่อเลย และค่อนยื่นสมัครพร้อมนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าทันทีที่ได้ I-20 โดยขั้นตอนทั้งหมดนี้ ทีม Hands On สามารถช่วยปักไทม์ไลน์การส่งเอกสารต่าง ๆ ให้เราไม่หลุดได้นะ
Spoiler title
ผู้ปกครองและน้อง ๆ หลายคนอาจจะโฟกัสเห็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ อย่างค่าเรียน ค่าครองชีพ ค่าตั๋วเครื่องบิน และค่าที่พักนักศึกษาเป็นหลัก จนอาจจะไม่ได้นำค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอย่าง ค่าสมัครเรียน ค่าสอบ ค่าแปลเอกสาร ค่าเดินทางไปยื่นขอวีซ่าและดำเนินการหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องมารวมในยอดสุทธิของค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่ถ้าเราคำนวณครบทุกด้านจริง ๆ เราจะเห็นตัวเลขที่แท้จริงและเตรียมงบได้ครบถ้วนถูกต้อง และน้อง ๆ บางคนยังสามารถขอทุนส่วนลดจากมหาวิทยาลัยมาหักลบค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ด้วย ซึ่งเรื่องการคำนวณค่าใช้จ่ายตรงนี้ทีม Hands On ก็สามารถให้คำแนะนำได้เช่นกัน
Spoiler title
ประเด็นนี้อาจจะเป็นเป้าหมายหลักของน้อง ๆ หลายคนที่ต้องการความมั่นคงทางการงาน เพราะถ้าหากเราได้ทำงานต่อในสายงานของเรา หลังจากเรียนจบจากหลักสูตรเลย Portfolio และหน้า Profile ใน LinkedIn ของเราก็จะยิ่งแข็งแรงและดูน่าสนใจขึ้น แต่ถ้าเราอยากจะทำงานต่อในอเมริกาจริง ๆ เราควรเช็กและจัดสรรเวลาให้ดี เพราะตั้งแต่เราเรียนจบคอร์ส เค้าจะเริ่มนับระยะเวลาที่สามารถทำงานต่อได้เลยทันที โดยบางคอร์สอาจจะให้ทำงานต่อได้ 1 ปี หรือใครที่จบจากคอร์ส STEM จะทำงานต่อได้ถึง 3 ปี ซึ่งหากเรายื่นขอวีซ่า Post Study Work เสร็จภายใน 1 เดือนหลังเรียนจบคอร์สเรียนธรรมดา ระยะเวลาที่เราสามารถทำงานต่อได้ด้วยวีซ่านี้ก็จะเป็น 12 – 1 = 11 เดือน เป็นต้น
Spoiler title
เรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของไทยกับอเมริกาอาจจะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่พอน้อง ๆ ต้องไปใช้ชีวิต ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ในต่างแดน และตั้งใจเรียนหนังสือ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงกับเรา สิ่งที่เราควรรู้และทำความเข้าใจไว้ก่อนไปเรียนต่อให้ดีคือเรื่องเหล่านี้
- Workload: มีการบ้านและโปรเจกต์ให้ทำเยอะมาก และมีกำหนดส่งใกล้ ๆ กันด้วย อันนี้เป็นเรื่องจริงจากรุ่นพี่นักเรียนอเมริกาเลย ซึ่งการบ้านที่ได้รับจะเป็นงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปเยอะด้วย
- Seasons: ฤดูกาลของแต่ละเมืองล้วนแตกต่างกัน อย่างตัวอย่างที่พี่ยกให้ดูข้างต้น อากาศหนาว-แห้ง แบบภูมิอากาศทะเลทราย จะส่งผลต่อการใช้ชีวิต การเลือกเสื้อผ้า ครีมทาผิว และเครื่องสำอางของเราอย่างแน่นอน
- Networking: การพบปะทำความรู้จัก และเก็บคอนเนคชั่น ในมหาวิทยาลัยหรือในชีวิตประจำวันนอกรั้วมหาวิทยาลัย คือโอกาสที่ดีทั้งนั้น! เพราะทุกคนที่เราได้รู้จัก มีโอกาสพัฒนาไปสู่โอกาสทางการงานได้
- Comfort Zone: การไปเรียนต่ออเมริกาเป็นการเดินออกมาจาก Comfort Zone ที่แท้จริง ผ่านการเรียนรู้ ได้เติบโตจากการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น และยังได้แสดงออกแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยเต็มที่
- Recession: สภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ในสหรัฐอเมริกาตอนนี้ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามข่าวสารให้ดีว่ามีการเปลี่ยนแปลงระบบใด ๆ ที่เกี่ยวกับนักเรียนต่างชาติบ้าง เราจะได้เตรียมตัวถูกและไหวตัวได้ทัน
- Measurements: เราควรหาแอปแปลงค่าหน่วยวัดไว้ เพื่อทำความคุ้นเคยกับมาตราวัดที่แตกต่าง เช่น ความยาวจากเมตรต้องใช้ฟุต น้ำหนักวัดจากกิโลกรัมเป็นปอนด์ และอุณหภูมิใช้องศา °F แทน °C
อ่านจบกันแล้วใครสนใจเตรียมตัวเรียนต่อสหรัฐอเมริกา และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมกับพี่ Hands On สามารถปรึกษาขอข้อมูลเรียนต่อกับทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย Hands On พร้อมดูแลให้ทุกเรื่องเรียนต่ออเมริกาของน้อง ๆ ทุกคนไม่มีสะดุดไร้รอยต่อ และปรึกษาฟรีทุกขั้นตอน

ติดต่อพี่ Hands On ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนต่ออเมริกาได้เลยฟรี
เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง